ทส.พลิก 360 องศา ร่วมสภาเกษตรกรฯ เปิดป่าเพื่อชุมชน

ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรุงเทพฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยพลเอกสุรศักดิ์ กล่าวว่า จากการทำงานที่ผ่านมาของ ทส.เมื่อก่อนจะเป็นการบังคับ จับกุมผู้ที่บุกรุกพื้นที่ป่า ปัจจุบัน ทส.หันหลังกลับแบบ 360 องศาปรับเปลี่ยนการทำงานมาเป็นลักษณะส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างป่ากับชุมชน ซึ่งจะทำให้เมื่อเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนจะเปลี่ยนเรื่องคุยจากเรื่องการบุกรุกที่ดิน บทกำหนดโทษ เป็นการคุยกันถึงเรื่องการปลูกอะไรดี เพาะพันธุ์อย่างไร ขายอย่างไร ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการที่ปลูกฝังกันมานานให้เปลี่ยนแนวคิดตามนโยบายของรัฐบาล “จากข้อเสนอสภาเกษตรกรฯที่ให้มีการปลูกไม้เศรษฐกิจได้ ทส.กำลังแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อเปิดมาตรา 7 ในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2489 เพื่อให้กฎหมายเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติน่าจะไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคม 2561 เพียงแต่จะเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมพื้นที่ สปก.และพื้นที่อนุญาตอื่นๆด้วย คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช.)จะได้เปิดโอกาสให้ดำเนินการใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ สำหรับข้อติดขัดในการทำธุรกิจต่อเนื่องจากไม้ จึงต้องมีการปรับเรื่องการอนุญาตให้มีความง่ายสะดวก รวดเร็วขึ้น และนั่นเป็นนโยบายของรัฐบาลในการอำนวยความสะดวกทุกกระทรวงต้องอำนวยความสะดวกให้ การจดทะเบียนหรืออนุญาตตามกฎหมายจะไม่เกิน 15 วัน แต่ต้องคุยกับพี่น้องเกษตรกรว่าทำอย่างไรถึงจะสะดวกรวดเร็วและควบคุมเท่าที่จำเป็น หมายความว่าต่อไปนี้ใครมีที่กรรมสิทธิ์สามารถปลูกต้นไม้ได้ ตัดได้ ให้เลือกปลูกไม้ที่มีอนาคตตรงกับความต้องการตลาด หลักก็คือ “ ปลูกง่าย […]

การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงานตามแผ่แม่บท เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมและบูรณาการกับหน่วยงานอื่นในปี 2562

สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดสัมมนาพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ระหว่างวันที่ 21 – 23 กันยายน 2561 ณ ชลพฤกษ์รีสอร์ท จ.นครนายก เพื่อประสานบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2562 …………………………………………… ข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์ ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

ปี 62 กรมเจรจาการค้าฯ จับมือสภาเกษตรกรฯ ร่วมพาสินค้าเกษตรท้องถิ่นสู่ตลาดโลก

วันนี้ (20 กันยายน 2561) เวลา 09.30 น. นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เรื่อง “ ความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า”  กับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์  เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยมีนายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ  นางสาวบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี ภายหลังพิธีลงนาม นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม ได้กล่าวว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความร่วมมือกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 อย่างต่อเนื่องในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับเกษตรกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีศักยภาพในการจัดการตลาดสินค้าและมีความพร้อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าในรูปแบบของการจัดสัมมนาให้ความรู้กับสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมานั้นทั้ง 2 หน่วยงานไม่มีการลงนามร่วมกัน ในการลงนามครั้งนี้จึงถือเป็นการกระชับความร่วมมือให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือในการส่งเสริมเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจในการตกลงทางการค้าเสรีร่วมกับประเทศต่างๆทั้งความตกลงFTAที่มีผลบังคับใช้แล้ว 12 ฉบับ ใน 17 ประเทศรวมทั้งความตกลงทางการค้าที่อยู่ระหว่างเจรจา “อาเซียน-ฮ่องกง” […]

กรมเจรจาการค้าฯ จับมือสภาเกษตรกรฯ ร่วมพาสินค้าเกษตรท้องถิ่นสู่ตลาดโลก

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 09.30 น. นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เรื่อง “ ความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า”  กับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์  เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยมีนายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ  นางสาวบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี …………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

“ประพัฒน์” เตือน CPTPP หากเกษตรกรนิ่งเฉยต้องเสียประโยชน์และอาชีพเกษตรล่มสลายแน่นอน

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อครั้งความตกลง “หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)” อดีตประธานาธิบดีอเมริกาพยายามผลักดันเรื่องนี้ กรอบความร่วมมือในครั้งนั้นทราบกันดีว่าไทยเสียเปรียบในหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการเกษตร ต่อมาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกจึงไม่ต่อเนื่อง แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกที่เหลือพยายามผลักดันฟื้นฟูเรื่อง TPP ขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP ซึ่งกรอบความร่วมมือใกล้เคียงเดิม บทบัญญัติบางประการที่จะก่อให้เกิดผลกระทบไม่ได้ตัดออกจากความตกลง เรื่องน่ากังวลคือการให้นักลงทุนเข้าถึงพันธุกรรมพืชและชิ้นส่วนซึ่งจะเป็นการผูกขาดด้านพันธุ์พืช ตั้งแต่ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์จนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลคือวิถีชีวิตของเกษตรกรจะเปลี่ยน ซื้อหาพันธุ์พืชในระดับราคาที่แพงและไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อ เป็นความเดือดร้อนยาวนาน 20-25 ปี รวมถึงการนำเข้าชิ้นส่วนสุกรที่จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงเกษตรกรผู้ผลิตพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมาก หากกรอบความร่วมมือนี้สัมฤทธิ์ผลเกิดผลกระทบกับประเทศไทยด้านเศรษฐกิจมหาศาลแน่นอน   ……………………………………………………   ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

“ประพัฒน์” เตือน CPTPP หากเกษตรกรนิ่งเฉยต้องเสียประโยชน์และอาชีพเกษตรล่มสลายแน่นอน

     นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยด้วยความกังวลใจว่า เมื่อครั้งความตกลง “หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership : TPP) อดีตประธานาธิบดีอเมริกาพยายามผลักดันเรื่องนี้ กรอบความร่วมมือในอดีตนั้นเป็นห่วงกันมากเพราะทราบดีว่าไทยเสียเปรียบในหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการเกษตร ต่อมาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกจึงไม่ต่อเนื่อง แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกที่เหลือพยายามผลักดันฟื้นฟูเรื่อง TPP ขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership )กรอบความร่วมมือใกล้เคียงเดิม บทบัญญัติบางประการที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบยังคงมีไม่ใช่การตัดออกจากความตกลง เพียงแต่ยังไม่นำมาบังคับใช้ขณะนี้จึงไม่มีหลักประกันที่แน่นอนว่าจะไม่นำกลับมาบังคับใช้ใหม่ และสิ่งที่เป็นข้อกังวลใจอย่างมากของสภาเกษตรกรแห่งชาติที่วนกลับมาอีกครั้งคือเรื่อง การให้นักลงทุนเข้าถึงพันธุกรรมพืชและชิ้นส่วนซึ่งจะเป็นการผูกขาดด้านพันธุ์พืช รวบตั้งแต่ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์จนถึงผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลคือวิถีชีวิตของเกษตรกรจะเปลี่ยนแปลง ซื้อหาพันธุ์พืชในระดับราคาที่แพงและไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อ เป็นความเดือดร้อนที่มีระยะเวลายาวนานด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่จะมีระยะเวลา 20-25 ปี อีกหนึ่งเรื่องที่น่ากังวลใจและมีบทเรียนจากหลายประเทศมาแล้วคือการนำเข้าชิ้นส่วนสุกร อาทิเช่น เวียดนาม หลังจากเข้าร่วมกรอบทีพีพีแล้วอเมริกาก็ผลักดันการนำเข้าชิ้นส่วนสุกร ปรากฏว่า Sector ภาคการเลี้ยงสุกรของเวียดนามแทบจะล่มสลายหมดเลย หากประเทศไทยไม่เป็นประเทศเกษตรกรรมเรื่องนี้จะไม่น่ากังวล แต่ภาคการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยเข้มแข็งมาก มีเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรและส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายกลางและรายย่อยกว่า 180,000 ครัวเรือน และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ถึงเกษตรกรผู้ผลิตพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ […]

สภาเกษตรกร เชิญชวนเกษตรกรร่วมสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. ….

            นายธีระ วงษ์เจริญ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อ พ.ศ.2558 สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. ถึงรัฐบาล โดยรัฐบาลได้มอบให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) พิจารณาและเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อน ซึ่งสภาพัฒน์ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องและมีการปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวโดยเปลี่ยนชื่อเป็นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. และเตรียมนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์คือมีหลักประกันความคุ้มครองในอาชีพ มีสวัสดิการ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพราะมีการศึกษาวิจัยจะเข้ามาช่วยดูแลให้มีความเป็นอิสระมากขึ้น องค์ความรู้จับต้องได้ง่ายขึ้น จึงอยากให้พี่น้องเกษตรกรติดตามร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในฉบับนี้ แล้วร่วมกันสนับสนุนเพราะเป็นร่างของประชาชน เป็นร่างของเกษตรกรอย่างแท้จริง ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

1 59 60 61 62 63 87