ธกส.เข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อเตรียมนำ 600 องค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเข้าสู่กระบวนการพัฒนาก่อนเข้าถึงแหล่งทุน

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.61 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับ นายสมศักดิ์ บุษยะกนิษฐ์    ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ณ ห้องประชุม 3 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสเข้าหารือเพื่อเตรียมนำ 600 องค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าสู่กระบวนการพัฒนากับ ธกส.ก่อนเข้าถึงแหล่งเงินทุน  และในโอกาสนี้ ธกส.ได้เชิญให้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมจัดงาน “สานพลังปฏิรูปภาคเกษตรไทย โดยกลไกตลาดอย่างยั่งยืน” โดยนำผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรเข้าร่วมออกบูธ ระหว่างวันที่ 23 – 25 พ.ย.61 ณ เมืองทองธานี ด้วย …………………………………………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต

สภาเกษตรกรแห่งชาติเข้ารับรางวัลส่งเสริมการออมดีเด่น ประจำปี 2561 เนื่องในวันออมแห่งชาติ

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้ารับโล่เกียรติคุณ รางวัลสนับสนุนและส่งเสริมการออมดีเด่น ประจำปี 2561 เนื่องในวันออมแห่งชาติ 31 ตุลาคม 2561 จากนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ กระทรวงการคลัง           ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล่าวภายหลังเข้ารับรางวัลว่า อาชีพเกษตรกรทำงานเหนื่อยหนักทั้งชีวิตแต่ไม่มีสวัสดิการเหมือนกับอาชีพอื่น การออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)เป็นวิธีการที่เกษตรกรสามารถใช้เป็นหลักประกันในชีวิตหลังวัย 60 ปีได้ รวมทั้งแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุ 15 –  60 ปี  ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33, มาตรา 39, มาตรา 40 ทางเลือก 2, มาตรา 40 ทางเลือก 3 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ยังไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการบำนาญจากรัฐบาลสามารถร่วมออมกับ กอช. และยังได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลเพิ่ม 50 – 100% […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติจี้รัฐบาลเร่งแก้ราคาสินค้าเกษตรภาคใต้ร่วงยกแผง ทั้งปาล์ม-มะพร้าว-ยางพารา นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้สินค้าเกษตรที่สำคัญของทางภาคใต้ ทั้งปาล์มน้ำมัน-มะพร้าว-ยางพาราต่างมีราคาตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนและแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายด้าน “การตลาดนำการผลิต” แต่ก็ยังไม่เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม หากรัฐไม่เร่งแก้ไขสถานการณ์จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในภาคใต้ในช่วงปลายปีปรับลดลงแน่นอน ทั้งนี้ ปัจจุบันปาล์มน้ำมันเกษตรกรขายได้เพียง กก.ละ 2 – 2.60 บาท / ยางพาราราคาน้ำยางเหลือ 3 กิโลกรัม ราคา 100 บาท ขณะที่มะพร้าวเกษตรกรหน้าสวนขายได้ราคา กก.ละ 2.50 บาทถึง 3 บาทเท่านั้น ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ปาล์มน้ำมัน จะต้องสร้างดีมานด์เพื่อดึงซัพพลายออกจากตลาด ทั้งการผลักดันการส่งออกและการเร่งผลิตไบโอดีเซล B20 ขณะที่มะพร้าวรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาโดยการเช็คสต๊อกและสั่งให้ระงับการนำเข้าเป็นเวลา 1 ปี ยางพาราเป็นสินค้าที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมีปัญหาอย่างรุนแรงและยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันปริมาณสต๊อกยางพาราเก่าของรัฐบาลส่งผลในแง่จิตวิทยาต่อราคาตลาดทำให้การส่งออกลดลง ส่วนการกระตุ้นความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศยังไม่ได้เกิดผล รัฐบาลต้องกระตุ้นการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น สภาเกษตรกรจังหวัดชัยนาทประสานมูลนิธิชัยพัฒนาขอรับแพะพระราชทาน “พันธุ์แบล็คเบงกอล” พันจ่าเอกเทียนชัย หัตถินาท ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า […]

เกษตรกรชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี กินกะลามะพร้าว ขายกิโลละพัน!

          นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการนำปฏิรูปภาคการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วจึงขาย เป้าหมายต่อไปคือการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปซึ่งเห็นว่าการทำให้พื้นที่การเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นการตลาดที่ดีช่องทางหนึ่งจึงประสานงานกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรีเพื่อเรียนรู้การบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)(อพท.) ณ วิสาหกิจชุมชนตะเคียนเตี้ย (บ้านร้อยเสา) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ในอดีตชุมชนตะเคียนเตี้ยมีอาชีพทำนา น้ำสมบูรณ์ตลอดทั้งปีแต่ต่อมาน้ำที่ใช้ทำนาเริ่มไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงหันไปปลูกมะพร้าวเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว จนปัจจุบันมีการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น แต่มะพร้าวยังถือเป็นพืชหลักของชุมชนโดยสามารถใช้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวได้หลากหลายและที่สร้างชื่อให้กับชุมชนคือ “แกงไก่กะลา” โดยนางอภิญญา ทิพนาค (ป้าแป๊ด) อายุ 54 ปี ชาวบ้านตะเคียนเตี้ยผู้ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสีซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองเล่าให้ฟังว่า ปลูกมะพร้าวพันธุ์ดังกล่าวพื้นที่ 2 ไร่ มะพร้าวหมูสีเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของที่นี่เป็นพันธุ์กินผลอ่อน น้ำมีรสชาติหวานแต่ไม่หอม ที่รอบหัวจุกมะพร้าวจะเป็นสีขาวเมื่อดึงขั้วจุกออกจะมีสีชมพูยังไม่มีเนื้อมะพร้าวเป็นกะลาอ่อนรสชาติกรุบ กรอบ มัน หวานอ่อน หอมมะพร้าวอ่อน อร่อย หากรอบขั้วจุกมะพร้าวเป็นสีเขียวจะมีเนื้อมะพร้าวใช้กินไม่ได้เพราะกะลาจะมีรสฝาด คนในชุมชนตะเคียนเตี้ยกินกะลามะพร้าวอ่อนกันมานาน และขายเป็นมะพร้าวกินผลอ่อนโดยนำกะลามาบริโภคเป็นอาหารราคาขายอยู่ที่ลูกละ 25-30 บาท ซึ่งกะลามะพร้าวอ่อนจะเก็บได้เมื่อลูกมะพร้าวออกทะลาย 2-3 เดือน ใน 1 ปีจะมีผลผลิต 12 ทะลายต่อต้น […]

สภาเกษตรฯ Channel – เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดพร้อมปรับเปลี่ยนแต่ขาดแหล่งพันธุ์ องค์ความรู้ แหล่งรับซื้อฯ

          นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตอนนี้สับปะรด เกิดวิกฤติทางผู้ผลิตสับปะรด สมาคมสับปะรดทางภาคตะวันออก ภาคตะวันตกได้เสนอประเด็นปัญหามาที่สภาเกษตรกรแห่งชาติและมอบหมายให้คณะทำงานด้านพืชไร่จัดการสัมมนาเพื่อหาทางออกและข้อเสนอแนะสู่รัฐบาลว่าแนวทางการขับเคลื่อนจะทำกันอย่างไร ซึ่งจากการจัดเวทีรับฟังเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะปรับเปลี่ยนแต่ ณ วันนี้เกษตรกรไม่รู้จะปรับเปลี่ยนยังไงเนื่องจากขาดแหล่งพันธุ์ , แหล่งองค์ความรู้ และแหล่งรับซื้อ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้าช่วยเหลือในเรื่องที่เกษตรกรต้องการอย่างแท้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพของผลสดให้มีคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกหรือการบริโภคภายในไปสู่ตลาด …………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ/เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน วิดีโอ : สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 24 ตุลาคม 2561

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติกรณี CPTPP เมื่อวันที่ 19 ต.ค.61 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและคณะเข้าพบหารือกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการจะทำข้อตกลง CPTPP ที่เป็นประเด็นข้อกังวลของภาคเกษตรกรรม โดยประธานสภาสภาเกษตรกรแห่งชาติได้แสดงความห่วงใยเกษตรกรรายย่อยที่ต้องสร้างการรับรู้ และใช้เวลาในการปรับตัว รวมถึงเสนอให้มีกองทุน CPTPP ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในการหารือครั้งนี้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้หารือแผนกิจกรรมที่ทั้งสองหน่วยงานจะทำร่วมกันภายใต้ความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศลงนามกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในการจัดการตลาดสินค้าเกษตร และใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า โดยได้กำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในปี 2561-2562 ซึ่งกรมเจรจาฯจะลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับความตกลงการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ (FTA) ฉบับต่างๆ และจะนำผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำ ตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพผลผลิตการเกษตร การแปรรูป และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและการนำสินค้าเกษตรออกสู่ตลาด ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศที่ไทยมีเอฟทีเอ ซึ่งเบื้องต้นกรมเจรจาฯ จะร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติคัดเลือกสินค้าและกลุ่มจังหวัดที่จะลงพื้นที่และจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เกษตรกร แบ่งได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง / กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน /กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง /กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความตกลงการค้าเสรี ฉบับต่างๆ ที่ไทยจัดทำกับประเทศคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันมี 12 […]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติกรณี CPTPP

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและคณะเข้าพบหารือกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการจะทำข้อตกลง CPTPP ที่เป็นประเด็นข้อกังวลของภาคเกษตรกรรม โดยประธานสภาสภาเกษตรกรแห่งชาติได้แสดงความห่วงใยเกษตรกรรายย่อยที่ต้องสร้างการรับรู้ และใช้เวลาในการปรับตัว รวมถึงเสนอให้มีกองทุน CPTPP ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ในการหารือครั้งนี้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เชิญประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมเดินทางไปศึกษากรณีประเทศเวียดนามได้รับผลกระทบหลังจากเข้าร่วมกรอบ TPP รวมทั้งเห็นตรงกันในเรื่องควรมีระยะเวลาในการทำความเข้าใจและให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในกระบวนการ CPTPP มากขึ้น …………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต  

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมเสวนาเตรียมฟื้นฟู ต.พร่อน จ.ยะลา นำร่องต้นแบบตำบลปลา ครบวงจร เมื่อวันที่ 15 ต.ค.2561 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมพบปะพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ถึง 6 ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลาและเสวนาบูรณาการเรื่อง “การพัฒนาตำบลปลา” ในพื้นที่ ต.พร่อน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนตำบลพร่อน ให้เป็นหมู่บ้านปลาอย่างครบวงจร จากเดิมเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยาง อย่างไรก็ตาม กลุ่มเลี้ยงปลาตำบลพร่อน มีบ่อปลาอยู่ถึง 100 บ่อ เลี้ยงบ้างไม่เลี้ยงบ้าง บางบ่อร้าง ถือเป็นต้นทุนที่ดี ถ้าได้เลี้ยงปลาอย่างจริงจังเพราะจะเป็นการสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรเลี้ยงทั้งปลานิล ปลาตะเพียน เป็นปลากินพืช และเพื่อต่อยอดพัฒนาศักยภาพผู้เลี้ยงปลา ได้คัดบ่อที่มีคุณภาพ ได้ขนาด น้ำไม่ท่วม ไม่แล้ง ผู้เลี้ยงจริงจัง เพาะพันธุ์ เลี้ยงเอง และทำอาหารปลา จำนวน 20 ราย […]

เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดพร้อมปรับเปลี่ยน แต่ขาดแหล่งพันธุ์ องค์ความรู้ แหล่งรับซื้อ เตือนต้องรู้เท่าทันต้นทุน และใช้ตลาดนำการผลิต

         นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตอนนี้สับปะรด เกิดวิกฤติทางผู้ผลิตสับปะรด สมาคมสับปะรดทางภาคตะวันออก ภาคตะวันตกได้เสนอประเด็นปัญหามาที่สภาเกษตรกรแห่งชาติและมอบหมายให้คณะทำงานด้านพืชไร่จัดการสัมมนาเพื่อหาทางออกและข้อเสนอแนะสู่รัฐบาลว่าแนวทางการขับเคลื่อนจะทำกันอย่างไร  ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาที่ราคาสับปะรดตกต่ำเกิดจากวิกฤตที่ไม่สามารถควบคุมได้  เนื่องจากสับปะรดปี 60 ผ่านแล้งมาก่อนทำให้มีราคาสูงขึ้นเกษตรกรปลูกกันมากขึ้น กอปรกับฤดูหนาวต่อเนื่องยาวนานทำให้สับปะรดออกมากผิดปกติจึงทำให้ราคาตกต่ำเป็นประวัติการ  สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงทำข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้กำหนดลดปริมาณที่มีอยู่ลงไป โดยส่งเสริมเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดที่ไม่มีการปลูกสับปะรดให้บริโภคผลสดมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นมาตรการหนึ่งที่จะดึงราคาให้สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไปใกล้ถึงฤดูกาลผลผลิตออก สภาเกษตรกรแห่งชาติจะทำบันทึกถึงส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอใช้มาตรการการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคในพื้นที่ที่ไม่มีการปลูกสับปะรดต่อไป ซึ่งสภาเกษตรกรฯได้สรุปประเด็นปัญหาตามกรอบยุทธศาสตร์นโยบายสับปะรดได้เดินไว้ด้วยเห็นพ้องว่าควรกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ 1  ได้แก่ในรอบรัศมี 100 กิโลเมตรรอบโรงงานผลิตควรเป็นพื้นที่ผลิตส่งโรงงาน  พื้นที่เป้าหมายที่ 2  คือนอกรัศมี 100 กิโลเมตรโรงงานผลิต หรือในเขตภาคอีสานและเขตภาคเหนือบางส่วนควรเป็นพื้นที่ผลิตเพื่อบริโภคผลสดหรือการแปรรูป และควรปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมแปรรูปผลิตเป็นสับปะรดอบแห้ง ไซรัป หรือน้ำสับปะรดร้อยเปอร์เซ็นต์จะทำให้เพิ่มมูลค่าได้ โดยการแยกส่วนหรือพื้นที่ปลูกจากกันหรือจัดโซนนิ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพดีขึ้น ซึ่งจากการจัดเวทีรับฟังเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะปรับเปลี่ยนแต่ ณ วันนี้เกษตรกรไม่รู้จะปรับเปลี่ยนยังไงเนื่องจากขาดแหล่งพันธุ์ , แหล่งองค์ความรู้  และแหล่งรับซื้อ  ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้าช่วยเหลือในเรื่องที่เกษตรกรต้องการอย่างแท้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพของผลสดให้มีคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกหรือการบริโภคภายในไปสู่ตลาดยุโรป ตลาด EU  ตลาดสหรัฐ และตลาดจีนซึ่งมีความต้องการสูงโดยการถนอมอาหารจะทำให้สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างสูงสุดด้วย “ เกษตรกรต้องรู้เท่าทันการผลิตสินค้า การคำนวณต้นทุนการผลิต […]

1 58 59 60 61 62 88