Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
นายเดชา บรรลือเดช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานกรรมการศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติ กล่าวถึงการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติที่คิดค้นและจดสิทธิบัตรเป็นนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้ง ว่า “การเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติ” เป็นระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดจะป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกุ้งได้แทบทุกชนิด ซึ่งเริ่มต้นจากช่วงวิกฤติโรค EMS (Early Mortality Syndrome) ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งระบบ มากระทั่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ กำหนดให้ โรค Hepatopancreatic microsporidioisis caused by Enterocytozoon hepatopenaei (EHP) และโรค Shrimp hemocyte iridescent virus (SHIV) ซึ่งเกิดในกุ้ง เป็นโรคภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ เช่นเดียวกับโรคอื่นๆในสัตว์น้ำที่เคยมีการประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวน 38 โรค จากประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งกว่า 30 ปี จนนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติดังกล่าว มองว่าระบบนี้สามารถควบคุมได้และมีความเสถียรมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เสียดายว่าเกษตรกรไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควรส่วนใหญ่ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ฯจะเป็นชาวต่างประเทศ “อยากให้เกษตรกรไทยได้ทดลองใช้ระบบอิงธรรมชาติแล้วต่อยอด มองว่าอนาคตต้องใช้ระบบอิงธรรมชาตินี้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบนี้อาจไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดแต่มองว่าเป็นระบบที่ได้ผลและประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 25 กันยายน 2562 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าร่วมเปิดตัว โครงการ “ประชารัฐสร้างไทย” เสนอทางออกเกษตรกร เมื่อวันที่ 21 ก.ย.62 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน พร้อมการเปิดตัวโครงการ “ประชารัฐสร้างไทย” ณ ห้องรอยัล จูบิลลี่ อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยนายประพัฒน์ ได้บรรยายเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย” และกล่าวเสนอทางออกของเกษตรกร 2 แนวทาง คือ การแปรรูป และการผลิตที่หลากหลาย พร้อมด้วยการนำเสนอการพัฒนาระบบนิเวศวิทยาทางเศรษฐกิจชนบทพร้อมจะฟื้นต้องมีกิจกรรมใหม่ๆให้ทำ กับข้อกฎหมายต้องผ่อนปรนเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูได้ (ปล่อยเสียงนายประพัฒน์) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติห่วงสถานการณ์น้ำ หมดฝนนี้กระทบภาคเกษตร เตือนติดตามอย่างใกล้ชิด เมื่อวันที่ 23 ก.ย.62 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าติดตามสถานการณ์น้ำ ณ ห้องบัญชาการและวิเคราะห์สถานการณ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน.) โดยได้รับการชี้แจงว่า แม้จะมีฝนตกหนักจากพายุ “โพดุล” และพายุ […]
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมด้วย นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เข้าติดตามสถานการณ์น้ำ ณ ห้องบัญชาการและวิเคราะห์สถานการณ์ (War Room) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) โดยดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ให้การต้อนรับและชี้แจงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย แม้ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีฝนตกหนักจากพายุ “โพดุล” และพายุ “คาจิกิ” แต่ก็ยังมีเขื่อนที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ ทั้งหมด 8 แห่ง ประกอบไปด้วย เขื่อนแม่กวง (30%) เขื่อนลำพระเพลิง (20%) เขื่อนอุบลรัตน์ (27%) เขื่อนลำนางรอง (16%) เขื่อนลำแซะ (28%) เขื่อนทับเสลา (23%) เขื่อนกระเสียว (22%) และเขื่อนคลองสียัด (23%) ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนภาคการเกษตรในฤดูแล้งปี 2563 โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ที่มีน้ำใช้การได้เพียง 66 […]
สภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานคดียาเสพติดร่วมสร้างความสมดุลและเป็นธรรมให้เกษตรกร ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร และพืชเสพติดเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” กับสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด โดย นางชนิญญา ชัยสุวรรณ อธิบดีอัยการ ณ ห้องรวงข้าว 204 ชั้น 2 คณะเกษตร อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ โดยมีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมเป็นพยาน โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกรเกี่ยวกับความรู้ด้านกฎหมายยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยพืชสมุนไพร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพโดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย โดยนายประพัฒน์ กล่าวว่า อัยการคือทนายแผ่นดิน หากเกษตรกรได้ทนายของแผ่นดินมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงก็มั่นใจว่าสามารถที่จะสร้างความสมดุลในสังคมได้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดเกษตรกรจะมีที่พึ่ง ที่ปรึกษา ด้าน นางชนิญญา ชัยสุวรรณ อธิบดีอัยการสำนักงานคดียาเสพติด ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานคดียาเสพติดมีความภาคภูมิใจที่เข้ามาร่วมทำงานกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยที่จะร่วมทำงานจากจุดเล็กๆเรื่องพืชยาเสพติดที่จะพัฒนาให้เป็นยา ให้เป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับเกษตรกร สัมภาษณ์นางชนิญญา …………………………………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค […]
เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดและดำเนินการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติครั้งที่ 5/2562 ณ ห้องรวงข้าว 204 ชั้น 2 คณะเกษตร อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ โดย ก่อนการประชุมมีการลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กับ สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกร หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตรที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย เกี่ยวกับองค์ความรู้ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยพืชสมุนไพร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพโดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรให้มีโอกาสในการเข้าถึงความมั่นคงในการประกอบอาชีพ การดูแลสุขภาพด้วยยา หรือยาจากสมุนไพร พืชเสพติดโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการขออนุญาตผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ในการประชุมได้พิจารณาเรื่อง การจัดทำข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม , การจัดทำข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม , การกำหนดกรอบนิยามในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ , […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 18 กันยายน 2562 สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางร่วมโครงการแพะ-แกะล้านนา สร้างการรับรู้งานด้านอาชีพแก่เกษตรกรภาคเหนือ เมื่อวันที่ 15 ก.ย.62 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเทคนิควิธีการเลี้ยงแพะ-แกะ แบบครบวงจร ในงาน “เสริมสร้างการรับรู้แก่เกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนโครงการแพะ-แกะล้านนา” ซึ่งจัดขึ้น ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อต้องการส่งเสริมให้แพะ-แกะได้เป็นสัตว์เศรษฐกิจทางเลือกตัวใหม่ที่สำคัญของเกษตรกร ด้วยหลักการที่ว่าแพะ-แกะ เป็นสัตว์โตเร็ว เลี้ยงง่าย ทนแล้ง สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดีในระยะเวลาอันสั้น โดยการจัดงานครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และผู้สนใจในอาชีพการเลี้ยงแพะ-แกะ ได้รับองค์ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการเลี้ยงแพะ-แกะ เพื่อการพัฒนาก้าวสู่มาตรฐานการเลี้ยง GAP ในอนาคต อีกทั้งเพื่อรับทราบถึงแนวทางในการดำเนินโครงการแพะ-แกะล้านนา ให้เกษตรกรได้มาร่วมพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเทคนิควิธีด้านการผลิต สร้างเครือข่ายการแปรรูปและการตลาด เพื่อให้การเลี้ยงแพะ-แกะ ของกลุ่มเกษตรกรภายใต้โครงการฯ มีความมั่นคงและยั่งยืน สภาเกษตรกรฯระบุเกษตรกรยุคนี้ต้องใช้ตลาดตั้งต้นการผลิต เมื่อวันที่ 11 ก.ย.62 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ […]
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร และพืชเสพติดเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” กับสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด โดย นางชนิญญา ชัยสุวรรณ อธิบดีอัยการ ณ ห้องรวงข้าว 204 ชั้น 2 คณะเกษตร อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมเป็นพยานและกล่าวว่า อัยการคือทนายแผ่นดิน เกษตรกรเป็นประชาชนที่อยู่ฐานรากของสังคมไทย ซึ่งปกติเวลาเกษตรกรในชนบทมีคดีความส่วนใหญ่จะแพ้คดีเพราะไม่มีทนายที่ดีมาสู้คดีให้ได้ หากว่าเกษตรกรได้ทนายของแผ่นดินมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงก็เชื่อมั่นได้ว่าสามารถที่จะสร้างให้มีความสมดุลในสังคมมากขึ้น อย่างน้อยที่สุดเกษตรกรเองก็มีที่พึ่งที่ปรึกษา การบันทึกความร่วมมือครั้งนี้เกษตรกรทั่วประเทศทุกคนจะได้ทราบว่าทนายแผ่นดินพร้อมจะเป็นที่พึ่งให้กับเกษตรกรในเรื่องคดีและเรื่องการพัฒนาอาชีพพร้อมกันไปด้วย ด้าน ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญและเจตนารมณ์แห่งกฎหมายยาเสพติดให้โทษ เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่ถูกต้องด้านกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการผลิต การครอบครอง การจำหน่าย […]
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนางชนิญญา ชัยสุวรรณ อธิบดีอัยการสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด ณ ห้องรวงข้าว 204 ชั้น 2 คณะเกษตร อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้ “การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร และพืชเสพติดเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” โดย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายณภัทร บุณยประสาท นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นสักขีพยาน ร่วมด้วยนายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ 1 นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ 2 และผู้บริหาร โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยพืชสมุนไพร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพโดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย ร่วมกันจัดทำชุดความรู้ โครงการ กิจกรรม การฝึกอบรม การประชุมหรือสัมมนา […]
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิด “โครงการอบรมเพิ่มทักษะความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” และบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนากลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมเบลล์ แกรนด์ จังหวัดอุดรธานี ว่า เกษตรกรในยุคปัจจุบันต้องศึกษาเรื่องการตลาดก่อนที่จะผลิตสินค้าในทุกๆผลิตภัณฑ์ อดีตที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าสินค้าชนิดไหนราคาดี ราคาสูงมักจะผลิตออกมาจนเกินความต้องการของตลาดทำให้ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว เดือดร้อนเป็นห่วงโซ่และยาวนาน เมื่อมีบทเรียนในอดีตจึงควรปรับเปลี่ยนปัจจุบัน เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรองค์กรเกษตรกรต้องเท่าทันการตลาด ดังนั้น สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงได้จัด “โครงการอบรมเพิ่มทักษะความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการหาช่องทางการตลาด รูปแบบการตลาดออนไลน์และวิธีการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดความเชื่อมโยงในระบบการตลาดของกลุ่มเกษตรกร เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างสรรค์ให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจกับการตลาดในยุคปัจจุบันได้ ซึ่งคาดว่ากลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมจำนวนกว่า 120 คน จะสามารถนำความรู้และทักษะ รูปแบบการตลาดออนไลน์ที่วิทยากรได้ถ่ายทอดไปใช้ในการเพิ่มช่องทางการตลาดและบริหารจัดการการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาดของกลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมร่วมกันได้ต่อไป ……………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน วีดีโอ : สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว […]