Weekly News EP.17 @ มิถุนายน 2565

– สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2566-2570 – สภาเกษตรกรร่วมขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หนุน Flagship Project – สภาเกษตรกรจังหวัดพิจิตรเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอทับทิมสยาม

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2564 สภาเกษตรกรฯร่วมเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2566-2570           เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2565 นายรัตนะ  สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2566-2570 ประเด็นเรื่อง “ยกระดับศักยภาพเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการเกษตรแห่งอนาคต” ซึ่งจัดโดยกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2566-2570 จากหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2566-2570 ให้มีความครอบคลุม ครบถ้วน และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมและประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตัวแทนจาก สภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษา เกษตรกร จำนวน 550 คน telecharger recuva + […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 สภาเกษตรกรฯชี้ เหตุจากโรคระบาดและอาหารสัตว์แพง แนะเกษตรกรเว้นวรรคการเลี้ยงสุกร           นายอภิศักดิ์  อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  คนที่ 1  ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์กล่าวถึง สถานการณ์การเลี้ยงสุกรในภาวะปัจจุบัน ว่า ปัญหาของผู้เลี้ยงสุกรมี 2 เรื่องหลักๆ คือ โรคและอาหารสัตว์ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น ควรเว้นวรรคการเลี้ยงหรือปรับเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ เหตุเพราะมีวัคซีนป้องกันโรคและมีความปลอดภัยสูง ในขณะที่สุกร ณ วันนี้ยังไม่มีใครยืนยันได้   เป็นไปได้อยากให้มหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนคิดค้นเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกร ทั้งนี้ ด้านการจัดการฟาร์มสุกรให้มีมาตรฐาน ปัจจุบันยังไม่ชัดเจน เกษตรกรรายย่อยสถานการณ์ปัจจุบันให้อนุโลมเว้นระยะ 2 ปี เหตุเพราะมีความอ่อนไหวหากเลี้ยงแล้วขาดทุน ต้นทุนสูงก็ไม่อยากเลี้ยงเพราะเสี่ยง  ความสะอาดการปนเปื้อนต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะสุกรหนีโรค การควบคุมจะทำได้ยากด้วยเจ้าหน้าที่ของภาครัฐมีจำนวนน้อย  ส่วนรายใหญ่เลี้ยงในระบบโรงเรือนปิด/เปิด ต้องกำหนดรูปแบบฟาร์มให้ชัดเจน พื้นที่ประกอบการเลี้ยงต้องโปร่ง โล่ง  สุกรจะไม่เครียด  อาหารต้องสดชวนกิน  พื้นที่เลี้ยงกับโรงเชือดควรกำหนดระยะห่าง  กำแพง  รั้ว  ถนนตัดใหม่  พื้นที่ก่อนนำสุกรเข้าเลี้ยง ทางเข้า/ออก ต้องคนละทาง  คลอรีนในน้ำ  […]