ประธานสภาเกษตรกรฯผลักดันปี 61 ปีแห่งการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าถึงเกษตรกร

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.)มาสู่เกษตรกร ในอดีตนับว่าทำได้ยากแต่ในปี 2560 ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)ได้นำนวัตกรรมเตาชีวมวลที่ประหยัดพลังงานส่งตรงถึงมือเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร       จากการจัดโครงการพัฒนาเกษตรกรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.60 เห็นว่าการทำเกษตรอุตสาหกรรมสำคัญที่ต้นทุนการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้แข่งขันได้ในตลาด  ความร่วมมือกันระหว่าง 2 หน่วยงาน จึงได้นำไปสู่การศึกษาวิจัยเตาประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงจนทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น   ในปี 2561 วว.จะนำนวัตกรรมพลังงานถ่านไม้ไผ่ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกษตรกรต้องการขยายผลต่อยอดส่งถึงตัวเกษตรกร  ทั้งนี้ การที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงนักวิจัย  จะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้มากขึ้นซึ่งจะทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไป การพบกันของ วทน.โดยสภาเกษตรกรฯเป็นคนกลางในการประสานงานนั้นจะเป็นเสมือนแขนขาให้กับ วว.ซึ่งไม่มีหน่วยงานในพื้นที่  แขนขานี้จะพาเกษตรกรกับนักวิจัยมาพบกันและปี 2561 จะเป็นปีแห่งการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐบาล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ วว. ด้านผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่เป็นคนไทยส่วนใหญ่ เพราะหากเกษตรกรมีความเข้มแข็งจะทำให้ฐานรากของประเทศแข็งแรง   วว.มีผลงานวิจัยและบุคลากรที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม พร้อมนำสู่เกษตรกรใน 3 กลุ่มเป้าหมายคือ ต้นน้ำเพื่อการพัฒนา แก้ปัญหาให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในการผลิต ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น กลางน้ำโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และผลผลิต และปลายน้ำด้านการรวมกลุ่มทำการตลาดอย่างเลือกใช้วทน.  […]

สภาเกษตรกรจับมือกองทุนการออมแห่งชาติสร้างบำนาญวัยเกษียณให้เกษตรกร

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า อาชีพเกษตรกรทำงานเหนื่อยหนักทั้งชีวิตแต่ไม่มีสวัสดิการอะไรเหมือนกับอาชีพอื่นที่หน่วยงานมีประกันสังคม หรือข้าราชการมีกองทุนบำเหน็จบำนาญดูแล ในฐานะที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นตัวแทนเกษตรกรได้แสวงหาวิธีการสร้างความมั่นคง ยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรมาโดยตลอด วันนี้พบว่ากองทุนการออมแห่งชาติที่กระทรวงการคลังดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 เป็นวิธีการที่เกษตรกรสามารถใช้เป็นหลักประกันในชีวิตหลังวัย 60 ปีได้ จนกระทั่งได้มีการหารือกันกับกองทุนการออมแห่งชาติและนำสู่การทำบันทึกข้อตกลง(MOU.)กันเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ณ กระทรวงการคลัง จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ได้รับความคุ้มครองยามชราในรูปของเงินบำนาญเป็นการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐอย่างทั่วถึง เกษตรกรจะรู้จักการออมพร้อมทั้งรัฐบาลจะสมทบให้ตามช่วงวัยเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินในยามวัยเกษียณเช่นเดียวกับระบบบำนาญข้าราชการ หรือพนักงานในระบบที่มีนายจ้างดูแล ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศให้ได้รับสวัสดิการด้านบำนาญจากรัฐอย่างทั่วถึง “ ปัญหาขณะนี้คือเกษตรกรยังไม่เข้าใจเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ สภาเกษตรกรฯจึงต้องทำหน้าที่ทำความเข้าใจกับเกษตรกรว่ามีประโยชน์อย่างไร หลังจากออมเงินแล้วจะช่วยเหลือ ดูแลพี่น้องเกษตรกรได้อย่างไรในบั้นปลายชีวิต ” ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล่าวต่อไปว่า สภาเกษตรกรฯมีสมาชิกเครือข่ายทั่วประเทศตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยจะใช้เครือข่ายดังกล่าวในการสร้างความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ต่างๆของตัวเกษตรกรเองรวมทั้งเป็นบำนาญส่งต่อไปยังลูกหลาน พร้อมทั้งผลักดันให้เกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนฯให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานะกองทุนฯ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2560 มีสมาชิกรวม 529,663 คน ซึ่งในปี 2561 กระทรวงการคลังได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนสมาชิก กอช. ไว้ที่ 1.2 ล้านคน ……………………………………………………………………………………… […]

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 4

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 4 เรื่องการปิดงบบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ระหว่างวันที่ 27 – 28 ธันวาคม 2560 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ

สภาเกษตรกรฯร่วมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนำเกษตรอุตสาหกรรมสู่กลุ่มน้ำอ้อยวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่

นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อน การปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรมของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกรคือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากแต่เดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน โดยแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูก 20 – 30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5 – 10 ไร่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเรื่องราคา, พื้นที่ปลูกน้อย , ผลผลิตที่ได้น้อย ทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ  เมื่อสภาเกษตรกรฯมีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบ ให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี  หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัดไปทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์ ผลปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายอ้อยให้โรงงาน 900 บาท/ตัน  เป็น 1,500 บาท/ตัน  อ้อย […]

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 3

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 3 เรื่องการปิดงบบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ระหว่างวันที่ 21 – 22 ธันวาคม 2560 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ

1 74 75 76 77 78 88