ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. ที่สุดแห่งความยั่งยืนภาคเกษตร หลักประกันคุ้มครอง องค์ความรู้จับต้องได้

     นายธีระ วงษ์เจริญ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อ พ.ศ.2558 สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. ถึงรัฐบาล โดยรัฐบาลได้มอบให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)พิจารณาและเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อน ซึ่งสภาพัฒน์ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องและมีการปรับปรุงแก้ไขร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวโดยเปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. และเตรียมนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อครม.ลงมติเห็นชอบจึงนำสู่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) คาดหวังว่าจะเสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ ปัจจุบันการเป็นอยู่ของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยและถูกโดดเดี่ยวถ้าระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเข้ามา รัฐต้องเข้าไปคุ้มครองดูแลในเรื่องของการจัดระบบ ทั้งเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรกรรมรูปแบบอื่น ทั้งนี้ ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีเกษตรกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม ตลอดจนสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับเกษตรกรและสังคมไทย การพัฒนาและส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการทำงานในเชิงระบบเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง ตลอดจนต้องกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนามาจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง และเพื่อให้เกิดระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในทุกระดับ และทุกภาคส่วนที่เอื้อต่อการพัฒนาและส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและแปลงนโยบายด้านเกษตรกรรมยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และนิเวศน์ของแต่ละชุมชนจึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ.ฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังความคิดเห็นประเด็นหลักใหญ่อยู่ที่เรื่องของการกำหนดนิยาม องค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบ รวมทั้งประเด็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันซึ่งได้ตรวจสอบแล้วว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีการวิจัยและพัฒนาที่ชัดเจนเป็นไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คณะกรรมการตามพ.ร.บ.นี้มาจากทุกภาคส่วนมี สตง.รวมทั้งหน่วยงานติดตามตรวจสอบภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้ชี้แจงไปเรียบร้อย      นายธีระ กล่าวอีกว่า ถ้าระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเข้ามารัฐต้องเข้าไปคุ้มครองดูแลในเรื่องของการจัดระบบ ในตัวบทกฎหมายของสภาเกษตรกรแห่งชาติจะดูเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงคล้ายสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นส่วนนโยบาย สำนักงานเกษตรกรรมยั่งยืนจะเป็นตัวปฏิบัติเป็น Action หาก 2 […]

“ให้ตลาดนำการผลิต” กระทรวงพาณิชย์พร้อมทำงานร่วมสภาเกษตรกรฯ

          นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดโอกาสให้สภาเกษตรกรมีส่วนร่วมในการนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางพัฒนาของภาคเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น  ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้เรียนเชิญนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยรัฐมนตรีชี้แจงว่าประเทศไทยมีจุดแข็งหลัก 2 ด้าน คือการเกษตร และการบริการ ตอนนี้ด้านการบริการเป็นไปได้ดีโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ทำรายได้ให้กับประเทศ แต่ด้านการเกษตรยังไม่ดีนัก GDP (Gross Domestic Product) หรือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ” โตไม่ถึง 10 %  วังวนของเกษตรกรคือเรื่องราคาผลผลิตการเกษตรที่สภาเกษตรกรฯและกระทรวงพาณิชย์ต้องช่วยกัน ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ขับเคลื่อนงานเพื่อเกษตรกรอย่างเต็มที่  แต่ปัญหาของภาคเกษตรไทยคือไม่สามารถจัดการได้ทั้งระบบ เช่น ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ต้องประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดโซนนิ่งปลูก ในการผลิตต้องประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ได้ผลปาล์มมีคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 18 % ต้องประสานกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้โรงงานไม่รับซื้อผลปาล์มที่ไม่ได้คุณภาพ การมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาตรฐานเดียว เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่างกับประเทศมาเลเซียที่บริหารจัดการปาล์มทั้งระบบจบที่กระทรวงเดียว   ส่วนของระบบการค้าในโลกเสรีที่ไม่สามารถห้ามการนำเข้าได้ก็มีผลตัวอย่างในขณะนี้ เช่น […]

สภาเกษตรกร ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิฯ เตรียมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน

เมื่อวันที่ 21 – 22 ส.ค.2561 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดอบรมหลักสูตร “อาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำหรับสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ” ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยประธานสภาเกษตรกรจังหวัดหรือผู้แทน 77 จังหวัด เข้าร่วมอบรม วัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การบูรณาการงานช่วยเหลือประชาชน การให้คำปรึกษาในระบบเกษตรพันธสัญญา เป็นการสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมในระดับพื้นที่ทุกจังหวัด เพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการดำเนินงานศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน ………………………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

“มหกรรมวิทย์สร้างชีพ ยกระดับภูมิภาค”

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2561 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ “มหกรรมวิทย์สร้างชีพ ยกระดับภูมิภาค” โดยมี ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งยังได้เยี่ยมชมบูธต่างๆ ภายในงาน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพาะเห็ดถั่งเช่าสีทองของวิสาหกิจชุมชนเห็ดถั่งเช่าจังหวัดเพชรบุรี การผลิตวุ้นจากน้ำมะพร้าวด้วยจุลินทรีย์ การทำขนมหวานเมืองเพชรโดยใช้เตาชีวมวล และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและการใช้เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย นอกจากนี้ยังมีการเปิดห้องเรียนสำหรับอบรมเกษตรกรในเรื่องเทคโนโลยีการเพาะเห็ดในระบบถุงพลาสติก การแปรูปผลิตผลทางการเกษตร-มะนาวดองเค็ม, มะนาวแช่อิ่ม, มะนาวสามรส และการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น ในการนี้เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติได้มอบกระเช้าที่ระลึกให้กับ ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทย์ฯ และนายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ (วว.) ณ โรงเรียนวัดหนองจอก (ศรีสรรค์พานิช) อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ………………………………………………………………….. ข่าว : วัชร มีแสงเงิน ภาพ : วัชร มีแสงเงิน

1 65 66 67 68 69 92