สภาเกษตรกรแห่งชาติเพิ่มมูลค่าถ่าน 400% ด้วย “ไวท์ชาโคล” ตัวอย่างเกษตรอุตสาหกรรม

     นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรฯได้ส่งเสริมชาวบ้านให้ปลูกไผ่ ด้วย “ไผ่” มีคุณสมบัติที่เหมาะสมแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายมากกว่าไม้ชนิดอื่น อาทิ อุตสาหกรรมก่อสร้าง งานหัตถกรรม เรื่องสิ่งแวดล้อม เฟอร์นิเจอร์ และจากการวิจัยพบว่าไผ่มีรูพรุนมากกว่าไม้ชนิดอื่นประมาณ 10 เท่า ประโยชน์ของการมีรูพรุนมากจะช่วยดูดซับอนุมูลทั้งหลายได้มากขึ้น และขณะนี้สภาเกษตรกรฯมาถึงขั้นการพัฒนาต่อยอดทำถ่านขาวหรือ “ไวท์ชาโคล(White Charcoal)”  ซึ่งเป็นถ่านคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมอีกเกรดหนึ่ง   หากถ่านคุณภาพสูงจะมีคาร์บอนที่มีการนำไฟฟ้าที่ดีวัดได้จากค่าการนำไฟฟ้าหรือโอห์มมิเตอร์จะต่ำประมาณ 2-4 โอม เป็นอุตสาหกรรมอีกหนึ่งแขนงที่สภาเกษตรกรฯจะผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขในเรื่องกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถแปรรูปไผ่ของตัวเองเข้าสู่อุตสาหกรรมได้  ที่ผ่านมาเกษตรกรเผาถ่านเพื่อใช้ในการหุงต้ม ทำอาหารหรือปิ้งย่างทั่วไปหากมีการพัฒนาผลิตเป็นถ่าน “ไวท์ชาโคล” เวลาปิ้งย่างจะไม่มีควันและสารพิษ ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี  ที่ส่งเสริมร้านปิ้งย่างให้ใช้ถ่านไวท์ชาโคลจึงไม่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ประกอบกับขายได้ราคาดีกว่าถึงกิโลกรัมละ 40-50 บาท ขณะที่ถ่านเผาธรรมดาขายอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 10-15 บาท ทั้งนี้  ถ่าน “ไวท์ชาโคล” เกิดจากการนำไม้ไผ่ไปผ่านการเผาในอุณหภูมิความร้อนที่สูงมาก ผลถ่านที่ได้สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานพัฒนาขึ้นด้วยมุ่งหวังให้เป็นผงถ่านไผ่เผาคุณภาพสูง การเผาด้วยคุณภาพสูงจะได้ผงคาร์บอนที่บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปนไม่มีสารตกค้างซึ่งจะมีผลต่อมนุษย์ เช่น สารก่อมะเร็ง    พยายามทำให้ถ่านเกิดความบริสุทธิ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อคุณสมบัติในการช่วยลดความชื้น ดูดซับอนุมูลอิสระ กลิ่น […]

สภาเกษตรฯ Channel – “เกษตรยุคใหม่ ทำอย่างไรให้รวย”

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมสัมมนา “เกษตรยุคใหม่ ทำอย่างไรให้รวย” จัดโดยหนังสือพิมพ์ “สยามธุรกิจ” และเสวนาหัวข้อเรื่อง “กลยุทธ์การทำเกษตรยุคใหม่แบบมืออาชีพ” ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยเสนอประเด็นการทำเกษตรอย่างมีข้อมูล การรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิ การทำเกษตรอินทรีย์ และการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรม ___________________________________________________________________ ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

สภาเกษตรกรฯเข้าร่วมสัมมนา ”เกษตรยุคใหม่ ทำอย่างไรให้รวย”

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.15 น. นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมสัมมนา “เกษตรยุคใหม่ ทำอย่างไรให้รวย” ซึ่งจัดโดย หนังสือพิมพ์ “สยามธุรกิจ” และร่วมเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อเรื่อง “กลยุทธ์การทำเกษตรยุคใหม่แบบมืออาชีพ” ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยได้เสนอประเด็นการทำเกษตรอย่างมีข้อมูล การรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิ การทำเกษตรอินทรีย์ และการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรม ……………………………………………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

ภาคเกษตรกรเลื่อนยื่นหนังสือถึงนายกฯจากวันที่ 24 เป็น 31 ก.ค.นี้

จากความเดือดร้อนของภาคเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560 จากเดิมที่กำหนดค่าใช้จ่ายแบบเหมาร้อยละ 80-85 แต่ได้กำหนดใหม่เป็นร้อยละ 60 นำสู่การจัดประชุมผู้แทนเกษตรกร องค์กรเกษตรกร ที่เดือดร้อนจากผลกระทบดังกล่าว เพื่อหารือทางออกร่วมกันเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และในที่ประชุมได้มอบหมายให้นายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมกับตัวแทนเกษตรกรยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล  นั้น  นายณัฐวุฒิ  ประทีปะวณิช ในฐานะผู้แทนเกษตรกร ได้แจ้งว่า เมื่อนำเรื่องความเดือดร้อนและเรื่องแนวทางแก้ปัญหาผลกระทบเกษตรกรจาก พรฎ.ดังกล่าวปรึกษากับภาคเกษตรกรและเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีทำให้ต้องเตรียมการให้รอบคอบ และนัดแนะกับภาคเกษตรกรและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ โดยลงความเห็นกันว่าจะขอเข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีจากวันที่ 24 กรกฎาคม 2561เลื่อน เป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ที่ทำเนียบรัฐบาลเวลา 10.00 น.แทน ………………………………………………………………….. ข่าว […]

สภาเกษตรกรฯเตือนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมรับศึกข้าวหอมมะลิ 3 สายพันธุ์อเมริกา ส่งเสริมปลูกปลายปีนี้ 1 สายพันธุ์

     นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยด้วยความกังวลว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงสถิติการส่งออกข้าวช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปตลาดต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด มีบางปีที่สัดส่วนขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 30 โดยตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันคือสหรัฐอเมริกา  แต่ตามข้อมูลมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2557 จากเดิมมูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิปีละราว 50,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงทุกปี  ต้องเรียนให้ผู้บริหารเรื่องข้าวของประเทศพิจารณาและเตือนไปยังพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิเตรียมปรับตัว   ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการส่งออกข้าวหอมมะลิที่ลดลงเพราะประเทศสหรัฐอเมริกาตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันปีละราว 10,000 ล้านบาทนั้น ได้ปรับปรุงพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ ถึง 3 สายพันธุ์ โดยมหาวิทยาลัยอาร์แคนซัสพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์จัสมิน“Aroma17” คุณสมบัติมีกลิ่นหอมทัดเทียมข้าวหอมมะลิของไทย ให้ผลผลิตสูง 7,740 ปอนด์/เอเคอร์ (1,388 กก./ไร่) มีอัตราการแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเฉลี่ยที่ระดับ 71%  ,  มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนาพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์จัสมิน“CLJ 01” คุณสมบัติมีกลิ่นหอมทัดเทียมข้าวหอมมะลิของไทย เมล็ดข้าวสวย มีท้องไข่น้อย ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวหอมที่มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนาพัฒนาก่อนหน้า […]

1 66 67 68 69 70 92