ทำความรู้จักกับ ส้มเช้ง
ส้มเช้งนั้นมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Citrus Sinensis มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia neriifolia Linn. จัดอยู่ในวงค์ของ Rutaceae ส้มเช้งนั้น ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ส้มตรา
ส้มเช้งนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ลำต้นของส้มเช้งนั้นจะมีหนามแหลมคม มีทรงพุ่ม ใบจะมีลักษณะของใบเลี้ยงเดี่ยว ใบนั้นจะเป็นรูปทรงไข่ มีความยาวรี ดอกของส้มเช้งนั้นจะเป็นดอกที่มีสีขาวครีม มีกลิ่นที่หอม ผลนั้นจะมีลักษณะเป็นทรงกลม
เปลือกของผลนั้นจะหนามีต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป เหลือกของผลนั้นจะแกะออกง่าย ผลอ่อนนั้นจะมีสีที่เขียวเข้ม เมื่อผลสุกแล้ว จะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง มีเนื้อฉ่ำ ข้างในผลมีน้ำสีเหลืองอ่อน ข้างในของเนื้อนั้นแยกเป็นกลีบ ๆ เนื้อนั้นมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ผลนั้นมีกลิ่นหอม
ลำต้นของส้มเช้ง
ส้มเช้งนั้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นนั้นมีทรงพุ่มขนาดเล็ก มีกิ่งก้านขยายแผ่ออกไป ต้นนั้นจะมีความสูงโปร่ง เนื้อไม้ของต้นส้มเช้งนั้นจะเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกของลำต้นนั้นจะมีผิวที่เรียบ ลำต้นนั้นจะมีกิ่งก้านออกไป แล้วก็มีหนามที่แหลมคม ส่วนสีของเปลือกนั้นจะมีสีน้ำตาล
ใบของส้มเช้ง
ใบของส้มเช้งนั้นจะมีลักษณะของใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะรูปทรงไข่ยาวรี สีของใบนั้นจะเป็นสีเขียวแก่ พื้นผิวของใบนั้นจะเป็นพื้นผิวที่เรียบเกลี้ยง และเป็นมัน ใบของต้นส้มเช้งนั้นจะมีใบที่ค่อนข้างหนา มีกลิ่นที่หอมมาก เพราะในใบนั้นจะมีต่อมน้ำมันอยู่ ใบที่ด้านบนนั้นมีสีที่เข้มขึ้น ใต้ใบนั้นจะมีสีที่อ่อนกว่าด้านบน
กิ่งของส้มเช้ง
กิ่งของส้มเช้งนั้นจะมีลักษณะที่กลม จะมีใบ และหนามแหลมคนงอกออกมารอบ ๆ กิ่งก้านนั้นจะขยายออกไป และมีสีเขียวเข้ม
รากของส้มเช้ง
รากของส้มเช้งนั้นจะเป็นระบบแก้ว จะมีลักษณะที่กลม รากนั้นจะมีการแทงลึกลงไปในดิน ส่วนรากแขนง และรากฝอยขนาดเล็ก ๆ มีการแทงรากกระจายออกไปที่บริเวณรอบ ๆ ของลำต้น ซึ่งรากนั้นจะมีสีน้ำตาล
เมล็ดของส้มเช้ง
เมล็ดของส้มเช้งนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปทรงรีแบน เมล็ดนั้นจะมีขนาดที่ยาวเล็ก เปลือกของเมล็ดนั้นจะแข็ง เมล็ดนั้นจะมีสีขาวนวล จะมีเมล็ดอยู่ที่ข้างในของเนื้อ
ดอกของส้มเช้ง
ดอกของส้มเช้งนั้นจะออกเป็นช่อ ๆ หรือจะออกดอกเดี่ยว ดอกนั้นจะมีการกระจายกันออกเป็นจุก กลีบดอกนั้นจะมีสีขาวครีม ดอกส้มเช้งนั้นจะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน และมีกลิ่นหอม ดอกนั้นจะออกตามซอกใบ และปลายยอดของกิ่ง
ผลของส้มเช้ง
ผลของส้มเช้งนั้นจะมีลักษณะเป็นทรงกลม เปลือกจะมีความหนา และมีต่อมน้ำมันอยู่ทั่วทั้งผล เปลือกของผลนั้นจะแกะออกง่าย ผลอ่อนนั้นจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกแล้ว ก็จะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ภายในของผลนั้นจะมีเยื่อเปลือกที่หนาและมีสีขาว เนื้อของส้มเช้งนั้นจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองอ่อน ข้างในของผลนั้นจะแยกกันออกเป็นกลีบ ๆ จะมีเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ
การปลูก และการขยายพันธุ์ส้มเช้ง
ส้มเช้งนั้นสามารถนำไปปลูกได้ในดินทุก ๆ ชนิด ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งใน ดินร่วน หรือดินปนทราย ก็จะเจริญเติบโตได้ดีอย่างมาก ส้มเช้งนั้นชอบแสงแดดที่รำไร แถมจะต้องมีระบบระบายน้ำที่ดี หากเริ่มปลูกส้มเช้งในช่วงระยะเวลาฤดูฝนนั้นจะเป็นการดีกว่า การปลูกส้มเช้งนั้นสามารถปลูกได้หลากหลายวิธี
การปลูกนั้นสามารถปลูกได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะปลูกโดยการใช้การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง การเสือบกิ่ง การติดตา และการปักชำ แต่วิธีการปลูกที่ให้ผลได้ดีกว่า และเติบโตกว่านั้นก็จะเป็นวิธี การปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง และการทาบกิ่งนั่นเอง
การดูแลรักษาส้มเช้ง
ส้มเช้งนั้นชอบอากาศร้อน ชอบแสดงแดดที่รำไร ส้มเช้งต้องการน้ำอย่างเพียงพอ ระบายน้ำที่ดี ดินจะต้องไม่แฉะ มีน้ำนอง หากต้องรดน้ำ จะต้องทำการรดน้ำแบบเช้าเย็น ในช่วงระยะเวลาที่ปลูกแรก ๆ ให้ทำการรดน้ำวันละครั้ง เมื่อโตขึ้นสักระยะ จะให้น้ำเป็นระยะ ๆ ให้ทำการดูแล ทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อไม่ให้ต้นส้มเช้งนั้นสูงเกินไป การห่อผลของส้มเช้งนั้น จะทำให้เปลือกสวยยิ่งขึ้น
การเก็บเกี่ยวผลผลิตส้มเช้ง
ส้มเช้งนั้นจะใช้เวลา 3-4 ปี โดยประมาณ ในการให้ผลผลิต ซึ่งผลนั้นจะทำการขยายขนาดได้เต็มที่ และผลสุกนั้นจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ผลส้มเช้งนั้นจะมีกลิ่นหอม เวลาเก็บเกี่ยวนั้น เราจะใช้กรรไกรในการตัดเข้าไปที่ขั่้ว แล้วจะต้องมีสิ่งรองรับ ไม่ให้ผลนั้นกระทบกับพื้นดิน เพื่อป้องกันการบอบเช้า เนื่องจากจะทำให้ผลนั้นเสียหายได้
การเก็บรักษาส้มเช้ง
หลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวส้มเช้งแล้ว เราจะต้องวางส้มเช้งไว้ในที่ ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี จะทำให้ส้มเช้งนั้นมีรสชาติที่หวานหอมยิ่งขึ้น และจะทำให้เก็บเอาไว้ได้นานยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องทำการแช่ในตู้แช่
ประโยชน์ และสรรพคุณส้มเช้ง
ภายในส้มเช้งนั้นจะมีสารอาหารต่าง ๆ เช่น
– มีเบต้าแคโรทีน
– ไขมัน
– โซเดียม
– โพแทสเซียม
– เส้นใย
– คาร์โบไฮเดรต
– ธาตุแมกนีเซียม
– ธาตุเหล็ก
– โปรตีน
– วิตามินเอ
– วิตามินซี
– ธาตุแคลเซียม
– ฟอสฟอรัส
– วิตามินบี1
– วิตามินบี2
– วิตามินบี3
– วิตามินบี5
– ตามินบี6
– วิตามินบี9
เมื่อรับประทานส้มเช้งแล้ว ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของ
– แก้ท้องเฟ้อ
– แก้ท้องอืด
– แก้จุกเสียดปอดบวม
– ช่วยขับลม
– ช่วยการขับถ่าย
– ยาระบายอ่อน ๆ
– แก้ปวดท้อง
– ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
– ช่วยแก้กระหายน้ำ
– แก้ไอ
– แก้หวัด
– ใช้แก้ไข้
– ช่วยขับเสมหะ
– แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
– แก้อาเจียน
– แก้วิงเวียน
– แก้ลม
– แก้ปวดศรีษะ
– ป้องกันติดเชื้อแบคทีเรีย
– ช่วยรักษาผมร่วง ช่วยบำรุงสายตา
– ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
– มีสารต้านอนุมูลอิสระ
– ช่วยบำรุงกระดูก
– ช่วยบำรุงฟัน
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– ช่วยฟอกโลหิต
– แก้แพ้
– ขับพยาธิ
– แก้หอบหืด
– แก้พิษฝี
– แก้ไข้จับสั่น
– ช่วยบำรุงสมอง